วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

มีสาระ.......โครงสร้างอะตอม

ริชาร์ด ไฟย์แมน
   ในปี ค.ศ.  1962   ริชาร์ด ไฟย์แมน ได้ยกแบบจำลองอะตอมให้เป็นแก่นของความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกดังในปาฐกถาที่แสดงแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียว่า
    หากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถูกทำลายลงทั้งหมดด้วยหายนภัยบางอย่าง และมีเพียงประโยคเดียวเท่านั้นที่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้  คำกล่าวทีรวมข้อมูลได้มากที่สุดโดยใช้จำนวนคำน้อยที่สุดควรจะเป็นคำกล่าวใด  ผมเชื่อว่า คำกล่าวดังกล่าว น่าจะเป็น สมมุติฐานของอะตอม  นั่นก็คือ  ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนประกอบดัวยอะตอม
วิทยาศาสตร์วาทะ     ดีโมครีตัสกล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก  เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้   อนุภาคเล็กๆเหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ  สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้  ดีโมครีตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า "อะตอม (Atom)"   จากภาษากรีกที่ว่า  atoms  ซึ่งมีความหมายว่า  "ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก"   ตามความคิดเห็นของเขา  อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้
 
 
 ธาตุ
ธาตุคืออะไร
         ธาตุคือ   สารซึ่งประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน  มีธาตุที่ค้นพบแล้ว 109 ธาตุ  เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ  89 ธาตุ  นอกจากนี้เป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น มีธาตุบางชนิดที่ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยา  เช่นทองคำที่เกิดจากธาตุบริสุทธิ์ แต่ธาตุส่วนมากมักเกิดกับรูปสารประกอบกับธาตุอื่นๆ
         
     หลังจากมีการค้นพบว่า อิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอะตอม  ทำให้ขัดแย้งกับทฤษฎีอะตอมในอดีตที่เข้าใจว่า  อะตอมแบ่งแยกไม่ได้   ดังนั้น   นักฟิสิกส์จึงได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับแบบจำลองของอะตอมขึ้นมา เรียงตามความเชื่อถือดังนี้
  1. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
  2. แบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
  3. แบบจำลองอะตอมของโบร์
โครงสร้างอะตอม
"ไม่มีใครรู้ว่าถ้าไม่มีนีลส์ บอร์ แล้ว เราจะรู้เกี่ยวกับเรื่องของอะตอมได้อย่างไร" นี้คือคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์อันดับหนึ่งของโลกที่กล่าวถึงนักฟิสิกส์ผู้นี้ บอร์เป็นนักฟิสิกส์ที่เปิดเผยความลับของอะตอมผู้ที่อยู่ในยุคเดียวกับอัลเบิร์ต
ไอน์สไตน์ และมีความเป็นอัจฉริยะไม่แพ้กันเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งบอร์ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำให้การสร้างระเบิดปรมาณู
ประสบความสำเร็จ สิ่งที่เป็นการยืนยันได้ดีก็คือ รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ที่เขาไดัรับการจากการค้นพบทฤษฎีอะตอม ในปี ค.ศ.
1922 นั่นเอง

        บอร์มีชื่อเต็ม ๆ ว่า นีลส์ เฮนริค เดวิด บอร์ (Niels Henrick David Bohr) เขาเกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885
ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาชื่อว่า คริสเตียน บอร์ (Christian Bohr) เป็นศาสตราจารย์
ทางสรีรวิทยา ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University) ส่วนมารดาคือ อัลเลน บอร์ (Allen Bohr)
ซึ่งเป็นบุตรสาวของคหบดีที่มั่งคั่งแห่งเมือง การที่บอร์เกิดมาในตระกูลที่มั่งคั่งทำให้บอร์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจาก
ที่เขาจบการศึกษาเบื้องต้นในปี ค.ศ.1903 บอร์ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน หลังจากที่เขาจบการศึกษา
ในระดับปริญญาตรีแล้ว เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมายหลายเรื่อง

         โดยบอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้บอร์
ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อ
จัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่
เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John
Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้
ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอน
และอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
ที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุในก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และ
จำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า "จำนวนอะตอมของธาตุ" และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม แต่ไม่ทันที่จะก้าวหน้า
ไปมากกว่านี้รัทเธอร์ฟอร์ดก็เสียชีวิตไปก่อนการค้นคว้าครั้งนี้ก็นับว่ามีประโยชน์อย่างมากมหาศาลแล้ว จากนั้นบอร์ได้เดินทาง
กลับบ้านเกิดที่ประเทศเดนมาร์ก พร้อมกับภรรยามากาเร็ต ฮอร์แลนด์ (Magarethe Horland) ที่เพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน

         หลังจากที่บอร์เดินทางถึงบ้านในปี ค.ศ.1913 เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์วิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปน
เฮเกน แต่เขาทำงานอยู่ได้ไม่นานก็เดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับประเทศเดนมาร์กอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1916
และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และต่อมาในปี ค.ศ.1920 บอร์ได้เลื่อนตำแหน่ง
ให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าทฤษฎีฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน นอกจากนี้เขายังได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน
ในการค้นคว้าทดลองอีกด้วยในปี ค.ศ.1922 บอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐาน
ของการค้นคว้าด้านอะตอมในเวลาต่อมา และในปีเดียวกัน เขาได้เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า โครงสร้างของอะตอมและ
การแผ่รังสี (The Theory of Spectra and Atomic Constitution) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานการค้นคว้าของเขา
เกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม โดยบอร์ได้อธิบายว่า โครงสร้างของอะตอมก็เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของระบบสุริยจักรวาล คือ
ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ส่วนอะตอมมีนิวเคลียสเป็นศูนย์กลาง ส่วนอิเล็กตรอนก็หมุนรอบนิวเคลียส เช่นเดียวกับ
ดาวเคราะห์ที่ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้บอร์ยังเป็นผู้อธิบายเกี่ยวกับการค้นพบกัมมันตภาพรังสี และทฤษฎีควอนตัม
ซึ่งแมกซ์ แพลงค เป็นผู้ค้นพบ แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนเท่าไรนัก เมื่อบอร์นำมาอธิบายทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น



         ในปลายปี ค.ศ.1938 บอร์ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทั้งนี้เขาต้องการปรึกษาหารือ และ
ทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งไอน์สไตน์ก็เห็นดีด้วย ทั้งสองจึงร่วมมือกันทำการทดลองขึ้นที่
ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน แต่การทดลองของทั้งสองก็เป็นอันยุติลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นโอกาสดีในทางหนึ่ง
เนื่องจากในเดือนมกราคม ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์อพยพมาจากยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลาง
สงคราม เข้ามาในประเทศอเมริกาจำนวนมาก ในระหว่างนี้บอร์ได้ เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัย
โคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ค ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำให้บอร์มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานที่เขาเพิ่งค้นพบให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มี
โอกาสได้รับรู้ เกี่ยวกับทฤษฎีการแตกตัวของอะตอม ซึ่งเป็นการแตกตัวของอะตอมของยูเรเนียม ซึ่งทฤษฎีนี้ได้นำไปใช้ในการสร้าง
ระเบิดปรมาณู

         ในปี ค.ศ.1940 ภาวะสงครามกำลังตึงเครียดอย่างหนัก แต่บอร์ก็ยังเดินทางกลับบ้านที่ประเทศเดนมาร์กเพื่อเยี่ยมเยียน
ครอบครัว พอดีกับกองทัพนาซีแห่งเยอรมนีได้ยกทัพเข้ายึกประเทศเดนมาร์ก บอร์ต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะหลบหนีออกจาก
เดนมาร์กมายังประเทศอังกฤษ โดยความช่วยเหลือของนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น จากนั้นเขาได้เดินทางต่อไปยังประเทศ
สหรัฐฯ และเมื่อมาถึงเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการอะตอมแห่อลาโมร์ รัฐนิวเมกซิโก ต่อมาในปี ค.ศ.1945
ระเบิดปรมาณูลูกแรกได้ทำการทดลองเป็นผลสำเร็จ จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงที่จะทิ้งระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่น
เพื่อเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อบอร์ได้ทราบข่าว เขาได้เดินทางไปยังเมืองนิวยอร์คทันทีเพื่อยุติการกระทำในครั้งนี้
แต่ไม่มีผู้ใดฟังเสียงของเขาเลย แม้ว่าเขาจะพยายามอธิบายถึงผลเสียที่จะมาจากระเบิดปรมาณูแล้วก็ตามและเหตุการณ์ก็เป็นไปตาม
ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรคาดไว้คือระเบิดปรมาณูสามารถทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นอันยุติลง แต่ผลเสียที่ตามมา
ก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากระเบิดทั้ง 2 ลูกจำนวนมากกว่า 2 แสนคน และเสียชีวิตภายหลังอีกจากโรคมะเร็งกว่า 200,000 คน

         หลังจากที่บอร์ประสบความล้มเหลวจากการหยุดยั้งระเบิด เขาได้เดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก และได้ดำรงตำแหน่ง
ประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูแห่งเดนมาร์ก ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนี้เขาได้พยายามหยุดยั้งการใช้ระเบิดปรมาณู
เพื่อการทำลายล้างทุกวิธีทาง จนในที่สุดความพยายามของเขาก็สัมฤทธิ์ผล ในปี ค.ศ.1955 การประชุมเรื่องปรมาณู ว่าด้วยเรื่อง
การควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติและสร้างสรรค์ มิใช่เพื่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ด้วยกัน ครั้งแรกเกิดขึ้น ที่กรุงเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจากความพยายามของบอร์ ในปี ค.ศ.1957 บอร์ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติดภาพ (Atom for
Peace Award) จากหอวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นจำนวนเงิน 75,000 เหรียญ ซึ่งบอร์เป็นบุคคลแรก
ที่ได้รับรางวัลนี้

         บอร์ยังคงทำงานของเขาต่อไป ต่อมาเขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อ ความก้าวหน้าของอะตอม จากสถาบันหลายแห่ง
และค้นคว้าอะตอมต่อไป จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน บอร์ได้สร้างคุณประโยชน์
อย่างมากมายให้กับวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับอะตอม บอร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมาก
จากรัฐบาลเดนมาร์ก และสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือ คฤหาสน์อันโอ่อ่าที่มีห้องพักมากถึง 12 ห้อง ซึ่งมูลนิธิคลาสเบิร์ก
(Carlsburg Foundation) ปลูกไว้สำหรับเป็นที่พักของนักปราชญ์ชาวเดนมาร์กได้อยู่จนตลอดชีวิต นอกจากนี้บอร์ยังดำรง
ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของเดนมาร์ก และบอร์ยังได้เป็นผู้ควบคุมการสร้างเครื่องปรมาณูเครื่องแรกของ
เดนมาร์กอีกด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More